กฏหมายและข้อบังคับ




พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2548)
วันที่ 24/09/2018   05.56 PM

 

พระราชบัญญัติ

วิศวกร

พ.ศ. ๒๕๔๒

-----------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒

เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ ๒๕๔๒”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก

(๑) พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕

(๒) พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๒

(๓) พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๐

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“วิชาชีพวิศวกรรม” หมายความว่า วิชาชีพวิศวกรรมในสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และ สาขาวิศวกรรมอื่น ๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง

“วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” หมายความว่า วิชาชีพวิศวกรรมที่กำหนดใน กฎกระทรวง

“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามพระราชบัญญัตินี้

“ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร

“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาวิศวกร

“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสภาวิศวกร

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาวิศวกร

“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาวิศวกร

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


ทะเบียนกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ลำดับ ชื่อกฎหมาย วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ใช้บังคับ

1

กฎกระทรวงที่ออกตามความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

   

2

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ.2547

20 สิงหาคม 2547

16 กุมภาพันธ์ 2548

3

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบแจ้งจํานวน และปริมาณความแรงรังสี ของต้นกําเนิดรังสี และแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงของจํานวนหรือปริมาณความแรงรังสีของต้นกําเนิดรังสี

23 มีนาคม 2548

24 มีนาคม 2548

4

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบการจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสม ที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจําทุกเดือน

23 มีนาคม 2548

24 มีนาคม 2548


แบบรายงาน หรือเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่นายจ้างต้องดำเนินการตามกฎหมาย

ลำดับ แบบรายงานหรือเอกสาร มาตรา/ข้อ รายละเอียด การดำเนินการ
 

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ.2547

     

1

แบบ ร.1-1

 

แบบแจ้งจำนวนและปริมาณความแรงรังสีของต้นกำเนินรังสี

ส่งภายใน 7 วันนับแต่วันที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครอง

2

แบบ ร.1-2

 

แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงของจำนวนและปริมาณความแรงรังสีของต้นกำเนิด รังสี

ส่งภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง


การประเมินความสอดคล้องกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ลำดับ ชื่อกฎหมาย สาระของกฎหมาย สิ่งที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง ผู้รับผิดชอบ ผลการประเมินความสอดคล้อง หมายเหตุ

1

1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและ การจัด การด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547

2. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรม ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2549

3. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือ และช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ

4. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553

ข้อ 3 ข้อ 13 กำหนดให้จัดทำป้ายข้อความ "ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า" (ภาษาไทย) และป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดติดไฟ ให้มีขนาดเห็นได้ชัดเจน บริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศทุกแห่ง

1. สำรวจที่อับอากาศที่มีอยู่ทั้งหมดในสถานประกอบกิจการ พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนที่อับอากาศ

2. แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำป้าย ข้อความ "ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า" (สีแดง) และป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดติดไฟ ให้มีขนาดที่ชัดเจน

3. แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตั้งป้ายให้ครบทุกที่ที่เป็นที่อับอากาศ

4. บันทึกภาพเก็บไว้เป็นหลักฐานในทะเบียนที่อับอากาศ

         
   

ข้อ 4 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 18 และข้อ 21 กำหนดให้การทำงานในที่อับอากาศต้องมีผู้อนุญาตในการทำงาน ซึ่งผู้อนุญาตต้องได้รับการฝึกอบรมและได้รับการมอบหมายจากนายจ้าง

1. กำหนดผู้ที่มีหน้าที่ทำงานในที่อับอากาศ

2. กำหนดผู้ที่มีหน้าที่อนุญาตให้ทำงานในที่อับอากาศ และผู้ควบคุมงาน

3. ดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน และผู้ช่วยเหลือ

4. ดำเนินการแต่งตั้งผู้อนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และผู้ควบคุมงาน

5. ประกาศให้ทราบทั่วกัน

         

แบบตรวจสอบความปลอดภัย สำหรับการทำงานในที่อับอากาศ

ลำดับ รายการตรวจ ผลการตรวจ หมายเหตุ
ใช่ ไม่ใช่ ไม่เกี่ยวข้อง

1

จัดทำระเบียบปฏิบัติงาน คู่มือปฏิบัติ หรือวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัย ในการทำงานในที่อับอากาศ ใช่หรือไม่

       

2

จัดทำทะเบียนที่อับอากาศภายในสถานประกอบกิจการ ใช่หรือไม่

       

3

บริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศทุกแห่ง มีป้ายข้อความ "ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า" ใ่ช่หรือไม่

       


Scroll To Top